zwani.com myspace graphic comments

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย


งานวิจัยเรื่อง  ผลของการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยการเล่า เรื่องนิทานในรูปแบบการวาดภาพที่เป็นกลุ่มและรายบุคคลที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย  นิรันตน์ กรองสอาด มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 2545
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เด็กเรียนรู้ด้วยความเข้าใจและคิดหาเหตุผล มิใช่การเรียนด้วยการท่องจำ เด็กจะต้องมีความเข้าใจในทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เสียก่อน เด็กจึงจะสามารถเข้าใจในคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป ได้ดังนั้นคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นมากกว่าวิชาคิดคำนวณ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สามารถแทรกอยู่ในกิจกกรมที่ครูจัดให้เด็กตามตารางกิจกรรมประจำวันได้ ถ้าครูคำนึงถึงการจัดกิจกรรมโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถและลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เนื่องจากเด็กวัยนี้ชอบความสนุกสนานจึงควรแฝงทักษะการเรียนรู้ไว้ในสิ่งที่เด็กชอบ นิทานก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เด็กชอบ เพราะนิทานมีโครงสร้าง ลีลาการเขียนและเรื่องราวติดต่อกันจนเด็กติดตามได้อย่างสนุกสนาน และการเล่านิทานให้เด็กฟังของครูนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย การทำกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยการวาดแผนที่เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม คือเด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพราะกิจกรรมการวาดแผนที่ เด็กต้องใช้ทักษะการสังเกตเพื่อเปรียบเทียบและจำแนก เพื่อบอกตำแหน่งและใช้กระบวนการคิดอย่างมีระบบต่อการเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง นับว่าสอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ว่า จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย
จุดประสงค์ของการวิจัย   เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยการเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่ เป็นกลุ่ม กับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน โดยการเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่ เป็นรายบุคคล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย   เด็กนักเรียน ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเลย สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำนวน 3 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
ดำเนินการทดลอง
1.ทดสอบก่อนการทดลองโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.ดำเนินการทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันจันทร์ และวันพุธ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
3.ทดสอบหลังการทดลองโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ผลการวิจัย  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยการเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่เป็นกลุ่ม กับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานและทำกิจกรรมหลังการฟังนิทาน โดยการเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่เป็นรายบุคคล มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน โดยการเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่เป็นกลุ่ม มีค่าคะแนนเฉลี่ยของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยการเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่เป็นรายบุคคล

                                                                                                               ดาวน์โหลดวิจัย : คลิ๊ก
                                                                                                       





** เพิ่มเติมสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ( การนับและตัวเลข)


สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การนับและตัวเลข

ชื่อเรื่อง  การนับจำนวนตัวเลขให้ตรงตามรูปภาพ


วัตถุประสงค์

 1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการนับจำนวนตัวเลข
 2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการสังเกต
 3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักจำนวน

อุปกรณ์

  1.ฟิวเจอร์บอร์ด  1 แผ่น  
  2.กระดาษ 100 ปอนด์
  3.สีไม้               
  4.แลคซีน
  5.กาว 
  6.กรรไกร
  7.กระดาษลัง

ขั้นตอนการทำ

 1.นำกระดาษ 100 ปอนด์ แปะลงบนฟิวเจอร์บอร์ดพร้อมกับติดแลดซีนที่ขอบฟิวเจอร์บอร์ด
 2.วาดรูปลงบนกระดาษปอนด์
 3.ตัดกระดาษลังเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมและตัดกระดาษ 100 ปอนด์ลงบนกระดาษลังแล้ววาดรูปที่เหมือน กันในรูปฟิวเจอร์บอร์ด
 4.นำแผ่นเล็ก  กระดาษลังก็เครีอบแผ่นใส่ด้วยก็เป็นเสร็จเรียบร้อย

 การใช้สอนขั้นตอนการสอน

1.กล่าวทักทายเด็กๆ พร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วยที่จะสอนบอกวัตถุประสงค์ให้เด็กรู้
2. นำสู่ขั้นนำให้เด็กร้องเพลงสวัสดีตอนเช้าร้องเพลง  สวัสดีๆวันนี้เรามาพบกันเธอกับฉันสวัสดีๆ
3.พาเด็กนับตัวเลข 1-10 ให้เด็กรู้จักจำนวนและวิธีการนับก่อน
4.คุณครูพาเด็กฟังนิทานจากรูปภาพบนฟิวเจอร์บอร์ด
5.เมื่อคุณครูเล่าจบก็ถามนักเรียนว่ามีสัตว์อะไรบ้างและมีกี่ตัวให้นับที่ละตัวจนนักเรียนบอกได้และเข้าใจ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.เด็กได้รู้จักจำนวนการนับ
2.เด็กได้รู้จักการสังเกต
3.ฝึกให้เด็กมีสมาธิในการฟัง


งานกลุ่ม การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ หน่วย มะพร้าว


                                                 


 วันจันทร์ ชนิดของมะพร้าว



วันอังคาร  ลักษณะของมะพร้าว



วันพุธ ประโยชน์ของมะพร้า





 วันศุกร์ ประกอบอาหาร(น้ำมะพร้าว)


วันศุกร์ อาชีพ




วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 16


วันนี้จบการเรียนการในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะสาธิตการสอนอาจารย์ได้เปิดสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมพิทยาให้ได้ดู ซึ่งมีดังนี้

Mind Mapping หน่วยที่เรียน


 ตารางเปรียบเทียบลักษณะ


  สื่อที่ทำจากแกนทิชชู่ สอนในเรื่องของรูปทรง


ภาพศิลปะที่เด็กวาด สอนในเรื่องของจำนว


หลังจากที่อาจารย์ได้ให้ดูเสร็จแล้วก็ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอนต่อ โดยกลุ่มที่ออกมาต่อไป คือ หน่วย ข้าว



 กลุ่มต่อไปคือ หน่วย สับปะรด



หลังจากจบการสาธิตการสอนอาจารย์ได้บอกกลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาสาธิตว่า เวลาที่จะนำเสนอนั้นไม่เพียงพอจึงให้เขียนแผนจัดประสบการณ์ให้ละเอียดเหมือนออกมาสาธิตการสอนจริงๆ ส่งในสัปดาห์หน้าในวันพุธ พร้อมสอบ เวลา 15.00 น.ในวันเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15


วันนี้อาจารย์ได้ให้ส่งงาน Mind Mapping เรื่องสาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์



 หลังจากส่งงานแล้ว อาจารย์ได้ให้ออกมาสาธิตการสอน ซึ่งกลุ่มแรกที่ออกมา คือ หน่วย ผลไม้ ประกอบด้วย

วันที่ จันทร์ ชนิดของผลไม้


วันอังคาร ลักษณะของผลไม้ ซึ่งยกมา 2 ชนิด คือ ส้ม กับ สับปะรด


 วันพุธ ประโยชน์ของผลไม้ ซึ่งเล่าเป็นนิทาน



วันพฤหัสบดี การถนอมอาหาร


วันศุกร์ การขยายพันธุ์ ไม่ได้นำเสนอให้เห็น เนื่องจากยังเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะจะนำมาสอนเด็ก
 หลังจากจบการนำเสนออาจารย์ได้สรุปและให้ข้อแนะนำกับกลุ่มที่จะออกมาสาธิตครั้งต่อไป


วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14


วันนี้ไม่มีการเรียนสอน

งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping เรื่องสาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์หน้า
-ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบสอนตามหน่วยที่กำหนดขึ้นมาเองในกลุ่ม โดยออกมาสอน 5 คน คนละวัน โดยใช้เวลาไม่เกิน 10-20 ต่อคน

                                 หน่วยของกลุ่มข้าพเจ้า คือ มะพร้าว