วันนี้อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม 3 คน เพื่อนำงานที่แต่ละคนที่หามาได้นั้น นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน
โดยเขียนสรุปลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้ ซึ่งกลุ่มของดิฉันสรุปได้ดังนี้
1. ให้สำรวจสำนักวิทยบริการว่ามีหนังสือ
“คณิตศาสตร์” อะไรบ้าง
ชื่อเรื่อง :
คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษา
ชื่อผู้แต่ง: วรรณี ธรรมโชติ
ปี พ.ศ. : 2547
เลขหมู่ : 510.7 อ17ค (ฉ.4)
ชื่อเรื่อง : การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัย
ชื่อผู้แต่ง: อาจารย์บุญเยี่ยม จิตรดอน
ปี พ.ศ. : 2547
เลขหมู่ : 372.24 ส7470
ชื่อเรื่อง : ทฤษฎีจำนวน
ชื่อผู้แต่ง: รองศาสตราจารย์ ดร.สมใจ จิตพิทักษ์
ปี พ.ศ. : 2547
เลขหมู่ : 512.7 ส237ท (ฉ.4)
2.ความหมายของ “คณิตศาสตร์”
เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการคิดคำนวณ
ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องราวและทักษะต่าง ๆ มากมาย เช่น การวัด ตัวเลข การสังเกต
การเปรียบเทียบ ขนาด สี น้ำหนัก ความเหมือน ความแตกต่าง และการเรียงลำดับเป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยการปฏิบัติลงมือกระทำด้วยตนเอง
อ้างอิง: กุลยา ตันติอาชีวะ. (2551)
ปรางวไล จูรัตนสำราญ. (2547).
ผลของการจัดกิจกรรมเข้าจังหวะและพฤติกรรมการส่งเสริมการเล่นจากบิดามารดาที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เรวัตร พรหมเพ็ญ. (2547).พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา.มรภ.จันทรเกษม.
3. จุดมุ่งหมาย /เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ การสอนคณิตศาสตร์
1)เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การเพิ่มลด การบวกและลบ2) เพื่อให้เด็กรู้จักกระบวนการหาคำตอบ
3) เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
4) เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
5) เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง เพื่อหาคำตอบ
6) เพื่อให้สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตอย่างมีคุณภาพ
อ้างอิง: นิตยา ประพฤติกิจ.(2537).คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย, วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
เรวัตร พรหมเพ็ญ.(2547).พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
หรรษา นิลวิเชียร.(2534).ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพหานคร.
4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการจัดการเรียนรู้โดยการกระตุ้นให้เด็กมีความหมายและการกระตือรือร้นในการเรียนรู้
ซึ่งจะเป็นหลักสำคัญยิ่งในการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากจากตัวผู้เรียนแล้วก็จะเกิดขึ้นกับบทบาทของผู้ที่ส่งเสริม เช่น ครู
ผู้ปกครอง โดยต้องมีความหลากหลายของการเรียนรู้ ภาวะสมดุล ความหลากหลายของคณิตศาสตร์
โดยเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติหรือเรียนรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งจะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และคณิตศาสตร์ต้องใช้พัฒนาความคิดรวบยอดที่ได้รับประสบการณ์ตรง
ไปพัฒนาในการเรียนคณิตศาสตร์โดยเน้นบทบาทของผู้เรียน
อ้างอิง: สมใจ จิตพิทักษ์.(2547).ทฤษฎีจำนวน.มหาวิทยาลัยทักษิณ.
หรรษา นิลวิเชียร.(2534).ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพหานคร.
หรรษา นิลวิเชียร.(2534).ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพหานคร.
5. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
1.)การนับ 7.)รูปทรงและเนื้อที่
2.)ตัวเลข 8.)การวัด
3.)การจับคู่ 9.)เซต
4.)การจัดประเภท 10.)เศษส่วน
5.)การเปรียบเทียบ 11.)การทำตามแบบหรือลวดลาย
6.)การจัดลำดับ 12.)การอนุรักษ์
อ้างอิง: นิตยา ประพฤติกิจ. (2537). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย,วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
สิรินมณี บรรจง.(2549).เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์.กรุงเทมหานคร:คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อ้างอิง: นิตยา ประพฤติกิจ. (2537). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย,วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
สิรินมณี บรรจง.(2549).เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์.กรุงเทมหานคร:คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
บุญเยี่ยม จิตรดอน.(2536).ความสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่ปฐมวัย.นนทบุรี:มหาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
6. หลักการสอนคณิตศาสตร์
1) คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล2)ให้เด็กเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงและประสบการณ์ตรง
3)ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
4) จัดกิจกรรมให้มีความสนุกสนานควบคู่ไปกับความรู้
5) สร้างมโนคติและรู้ค่าความหมายการให้จำโดยให้เด็กค้นคว้าทดลองด้วยตนเอง
6) จัดกิจกรรมทบทวน
อ้างอิง: นิตยา ประพฤติกิจ.(2537).คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย,วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
บุญเยี่ยม จิตรดอน.(2536).ความสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่ปฐมวัย.นนทบุรี:มหาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
เยาวภา เดชะคุปต์. (2545).จำนวน 1-5 ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น